Reiko Sudo เป็นนักออกแบบสิ่งทอชาวญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของแบรนด์ NUNO ก่อตั้งมากว่า 30 ปี งานสิ่งทอของ NUNO จะเป็นการทดลองคิดค้นและผลิตสิ่งทอใหม่ๆนอกเหนือไปจากข้อจำกัดของระบบอุตสาหกรรม และมีจุดมุ่งหมายในการ “สร้างนวัตกรรมทางสุนทรียศาสตร์” โดยรวมเอาวิธีการถักทอแบบพื้นบ้านเข้ากับเทคโนโลยีสิ่งถักทอและตกแต่งสมัยใหม่จนถึงปัจจุบันนี้ NUNO ได้คิดค้นสิ่งทอรูปแบบพิเศษมามากกว่า 2,000 ชิ้น เช่น การพับพลีทแบบออริกามิ (origami pleating) ผ้าลูกไม้เคมี (chemical lace) การเคลือบกระดาษวาชิเข้ากับผืนผ้า หรือการทักทอเทปไนลอนกับเยื่อไฟเบอร์ หรือแม้กระทั่งการนำสนิมเหล็กมาพิมพ์บนผ้าเรยอนเพื่อสร้างลวดลายที่แปลกใหม่ งานของคุณ Reiko นั้นได้รับการกล่าวขานว่าเป็นงานศิลปะที่มีความกล้าและสนุกสนานในการทดลอง รวมถึงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของวงการสิ่งทอญี่ปุ่นในยุคนี้ คุณ Reiko เกิดในปี 1954 และมีความสนใจในสิ่งทอตั้งแต่สมัยเด็ก ในยามที่ช่างกิโมโนจะแวะมาที่บ้านของเธอพร้อมม้วนผ้าผืนใหญ่เพื่อให้ผู้หญิงในบ้านได้เลือกลายผ้าสวยงามเหล่านั้นมาตัดเป็นชุด ต่อมาเธอได้เริ่มศึกษาด้านการวาดภาพญี่ปุ่นโบราณ ตามด้วยการศึกษาต่อด้านสิ่งทอในระดับปริญญาตรี ปัจจุบันนอกจากจะเป็นเจ้าของ brand NUNO […]
Read More
งานวิจัย “ENZease : เอนไซม์ดูโอสำหรับลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียว” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลิตผ้าฝ้าย ลดต้นทุน และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมปัญหาหลักอย่างหนึ่งของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย คือปัญหาด้านการใช้พลังงาน สารเคมี และน้ำในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานฟอกย้อม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำที่มีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอ แต่ทว่าในกระบวนการผลิตต้องใช้ทั้งความร้อน และวัตถุดิบที่เป็นสารเคมี ไม่ว่าจะเป็น สารออกซิไดซ์ โซดาไฟ ผงซักฟอก สีย้อม กรด ด่าง เป็นต้น ทำให้โรงงานต้องเพิ่มต้นทุนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และหากโรงงานมีระบบการจัดการไม่ครอบคลุมอาจก่อให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศได้ ผ้าฝ้ายดิบถือเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศ เนื่องจากถูกนำไปใช้เป็นพื้นฐานของสินค้าหลายประเภทเช่น กระเป๋า รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เป็นต้น ปกติในกระบวนการเตรียมผ้าฝ้ายก่อนนำไปย้อม จะประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักคือ 1) การลอกแป้ง 2) การกำจัดสิ่งสกปรก และ 3) การฟอกขาว (Bleaching) ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนนั้น จะต้องทำแยกกันเนื่องจากมีการใช้สารเคมี และสภาวะในการดำเนินการแตกต่างกัน ทำให้สิ้นเปลืองเวลา […]
Read More
เรื่องโดย ปิลันธน์ ธรรมมงคล หสน.ธนไพศาล ปัจจุบันค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในอุตสาหกรรมฟอกย้อมยังไม่มีการกำหนดค่าปริมาณสีที่ปล่อยออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ที่ผ่านมาได้กำหนดค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอยู่ในรูปแบบของ Biochemical Oxyen Demand: BOD ไม่เกิน 60 มิลลิกรัมต่อลิตร Chemical Oxyen Demand : COD ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อลิตร และปริมาณสารอื่นๆ เช่น ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง น้ำมันและไขมัน สังกะสี โครเมียม ปรอท ตะกั่ว เป็นต้น ส่วนค่ามาตรฐานสีของน้ำทิ้งกำหนดไว้ว่าสีและกลิ่นต้องไม่เป็นที่พึ่งรังเกียจ[vc_column_text]ด้วยเหตุนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้พยายามผลักดันร่าง ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ที่มีการกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น โดยได้กำหนดหน่วยการวัดสีค่าน้ำทิ้งใหม่ให้ไม่เกิน 300 ADMI ซึ่งร่างดังกล่าวฯ ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน ADMI ย่อมาจาก American Dye Manufacturers Institute เป็นหน่วยมาตรฐานในการวัดค่าสี เพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของสีย้อมและเม็ดสีในน้ำเสียซึ่งปัจจุบันมีการใช้ระบบนี้เพียงไม่กี่ประเทศในโลกเช่น ไต้หวัน หรือสหรัฐอเมริกา […]
Read More
อุตสาหกรรมสิ่งทอในยุคนี้ เป็นที่รู้กันดีว่าการผลิตสิ่งทอรูปแบบเดิมๆ นับวันจะยิ่งไม่สามารถแข่งขันได้หากไม่มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับคุณภาพให้กับสินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันในตลาดระดับล่าง เช่นเดียวกับคุณปิลันธน์ ธรรมมงคล เจ้าของธุรกิจด้านสิ่งทอถึง 3 บริษัทที่ให้ความสนใจกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดการทำงาน โดยมีแนวคิดว่า หากต้องการประสบความ “สำเร็จ” ต้องคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ให้เป็นทางเลือกที่แตกต่างตามแบบฉบับของตัวเองวันนี้นับเป็นโอกาสดีที่เราจะได้เรียนรู้แนวคิดในการบริหารธุรกิจ และวิธีการรับมือกับวิกฤตต่างๆ เพื่อสร้างโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ๆ ภายใต้การแข่งขันสูงทั่วโลก “ปัจจุบันการผลิตสิ่งทอโลกมีความเปลี่ยนแปลง การทำตลาดแบบเดิมๆ เริ่มใช้ไม่ได้ผลแล้ว บริษัทฯ จึงหันไปให้ความสนใจตลาดสินค้าคุณภาพที่มีผลกำไรต่อหน่วยสูงขึ้น นวัตกรรมสิ่งทอ (Innovative Textile) กำลังกลายเป็น “คำตอบ” ในการเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าในระดับกลาง และในกลุ่ม High-end ที่ให้ความสนใจเรื่องคุณภาพ การสร้างความแตกต่าง และความคิดสร้างสรรค์มากกว่าราคาสินค้า จากการสำรวจตลาดในกลุ่มนี้ พบว่าผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นบริษัทเดิมๆ ที่เชี่ยวชาญการผลิตสินค้าเฉพาะทาง หรือไม่ก็เป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักในตลาด การจะเข้าไปมีส่วนแบ่งทางการตลาดในกลุ่มนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการค้นคว้าวิจัยและลองสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นซึ่งบริษัทฯได้มีการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มาตลอดจึงสามารถนำองค์ความรู้ที่มีในองค์กรมาใช้ต่อยอดธุรกิจในกลุ่มนี้ได้ไม่ยากนัก ช่วงเริ่มต้นในการสะสมองค์ความรู้ บริษัทฯ พัฒนาเพียงผ้าผืน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความต้องการของลูกค้ามีความหลากหลายขึ้น บริษัทจึงต้องปรับตัวด้วยการนำผ้าผืนมาพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าสำเร็จรูปที่ทำจากผ้าหลากหลายรูปแบบ อาทิ […]
Read More
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยจัดเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศไทยในอันดับต้นๆ สิ่งทอไทยถือเป็นผู้ผลิตต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงมีนโยบายผลักดันให้อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเป็นศูนย์กลางการค้าในอาเซียนทั้งด้านการค้าและการจัดหาสินค้าสิ่งทอแฟชั่นให้ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการระดับภูมิภาคอาเซียน แต่ในความเป็นจริงแล้วการพัฒนาและขยายการลงทุนด้านอุตสาหกรรมฟอกย้อมพิมพ์ตกแต่งสำเร็จในประเทศไทย ยังดำเนินงานช้ามากซึ่งถือเป็นคอขวดในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบ เนื่องจากติดข้อจำกัดด้านกฎหมายหลายฉบับ โดยเฉพาะประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องการห้ามตั้ง ห้ามขยายโรงงานฟอกย้อมฯ ปี พ.ศ.2549 ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า กระบวนการฟอกย้อมพิมพ์และตกแต่งสำเร็จ เป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าสิ่งทอได้สูงมากด้วยตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการฟอกย้อมฯ ที่เป็นขั้นตอนสำคัญในห่วงโซ่การผลิตสิ่งทอ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ จึงร่วมกันเสนอให้มีการยกระดับกระบวนการฟอกย้อมพิมพ์และตกแต่งสำเร็จทั้งระบบอย่างเร่งด่วน ด้วยเหตุนี้สมาคมอุตสาหกรรมฟอกย้อมพิมพ์และตกแต่งสิ่งทอไทย จึงร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดทำข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ โดยมีวัตถุประสงค์ในการปรับโครงสร้างและภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ เป็นอุตสาหกรรมสะอาด ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและความคิดสร้างสรรค์เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมสิ่งทอในภูมิภาคอาเซียน และเป็นกลไกสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่ม อุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ ไม่ใช่ผู้ร้าย คุณสุปรีญา อุนนาทรวรางกูร นายกสมาคมอุตสาหกรรมฟอกย้อมพิมพ์และตกแต่งสิ่งทอไทย กล่าวถึงการผลักดันให้ยกเลิกประกาศกระทรวงห้ามตั้ง ห้ามขยายฯ ว่า ภาคเอกชนเห็นด้วยที่รัฐมีความพยายามจะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเพราะส่วนหนึ่งจะเป็นการควบคุมมลพิษ แต่กฎการห้ามตั้ง ห้ามขยายโรงงานฟอกย้อมฯ ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุดเพราะปัญหามลพิษที่ปล่อยลงในทางน้ำสาธารณะเกิดจากหลายๆ ภาคส่วน ทั้งจากอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท จากชุมชนที่อยู่อาศัย รวมทั้งน้ำเสียจากอาคารพาณิชย์ต่างๆดังนั้นรัฐจึงต้องพิจารณาหาต้นเหตุของแหล่งน้ำเสียที่แท้จริงก่อน แล้วค่อยออกมาตรการควบคุมการปล่อยน้ำเสียจากแหล่งต่างๆ “ดิฉันไม่เห็นด้วยกับกฎห้ามตั้งห้ามขยายโรงงานฟอกย้อมฯ ตั้งแต่เริ่มต้น เพราะกระบวนการฟอกย้อมเป็นหนึ่งในห่วงโซที่ผูกต่อกันของอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งทุกคนรู้ดีว่าขั้นตอนการผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุดิบให้ออกมาเป็นสินค้าที่มีมูลค่าและคุณภาพ […]
Read More
เมื่อเอ่ยถึงเส้นใยส่วนใหญ่คงนึกถึงการนำไปปั่นทอถัก ผลิตเป็นผืนผ้า เพื่อสวมใส่หรือใช้ในงานหัตถกรรม โดยเฉพาะเส้นใยจากธรรมชาติที่มีคุณลักษณะสมบัติเฉพาะด้าน เส้นใยถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ปัจจุบันหน่วยงานองค์กรต่างๆ ให้ความสนใจและใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ผลจากมลภาวะของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ในหลายประเทศและประเทศไทยได้มีการสนับสนุนส่งเสริมมาตรการ การกำหนดข้อกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผลิตภัณฑ์มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฉลากสีเขียว การนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้จึงมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นวัสดุจากเส้นใยธรรมชาติ เป็นแนวทางที่สำคัญถูกนำมาใช้เป็นวัสดุพอลิเมอร์คอมโพสิต (Polymer Composite) แบ่งชนิดของวัสดุพอลิเมอร์คอมโพลิตที่ใช้งานอุตสาหกรรมได้ 2 ประเภท วัสดุจากเส้นใยธรรมชาติ เป็นแนวทางที่สำคัญถูกนำมาใช้เป็นวัสดุพอลิเมอร์คอมโพสิต (Polymer Composite) แบ่งชนิดของวัสดุพอลิเมอร์คอมโพลิตที่ใช้งานอุตสาหกรรมได้ 2 ประเภท 1. คอมโพสิตจากวัสดุสังเคราะห์ ได้แก่ เส้นใยจำพวกพอลิพรอพิลีน พอลิเอทิลีน (HDPE) 2. คอมโพสิตจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เส้นใยยูคาลิปตัส ใยกัญชง หญ้าแฝก ใยไผ่ เส้นใยจากไม้ยางพารา ใยปอ ป่านศรนาราย์ เส้นใยผักตบชวา ใยสับปะรด ใยกล้วย เป็นต้น ในส่วนของวัสดุที่มาจากธรรมชาติ สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานดังนี้ เส้นใยถูกนำมาใช้งานโดยตรง ได้แก่ ใยกัญชง ใยปอ ใยสับปะรด ใยกล้วย ใยไผ่ ป่านศรนารายณ์ ผักตบชวา […]
Read More
ผลจากการที่คุณจมปลักกับอดีต อาจทำให้ชีวิตไม่มีความเจริญ ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน คุณต้องยอมรับข้อผิดพลาดที่คุณผ่านมา และนำมาเป็นบทเรียนสอนคุณให้คุณเริ่มต้นใหม่ แนวคิดแบบนี้ คือจุดเริ่มค้นของการคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ หลากหลายสาขา เช่นเดียวกับในวงการเคหะสิ่งทอ ที่บิลเลอร์เบค (Billerbeck) ได้พัฒนาผ้านวมและหมอน ให้ชื่อว่า ซาโลมียา (Salomea) ประกอบด้วยแผ่นรองเส้นใยที่ทำจาก ซีเซล (SeaCell ) และบริษัทยังได้พัฒนากลุ่มสินค้าผ้านวมและหมอน เรียก ซันชาย (Sonchai) ซึ่งประกอบด้วยแผ่นรองเส้นใยที่ทำจากเส้นใยโปรตีนถั่วเหลือง 100% รวมถึง เฮเฟิล (Hefel) ก็ได้พัฒนาผ้านวมและหมอน ที่มีแผ่นรองเส้นใยที่ทำจากโปรตีนจากนมและเส้นใย อินจีโอ (Ingeo ) ในขณะที่เดนมาร์กได้พัฒนาผ้านวม โดยให้ชื่อว่า เทมพราคอน (Temprakon) ซึ่งมีคุณสมบัติของความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิบริษัทเทยิ่น ได้พัฒนาผ้าโพลีเอสเตอร์สำหรับผ้าม่านที่สามารถดักอนุภาคของละอองเกสรได้เป็นจำนวนสองเท่าจากปกติของผ้าโพลีเอสเตอร์ทั่วไป บริษัท เลนซ์ซิง (Lenzing) ได้ส่งเสริมให้มีการใช้เส้นใย เทนเซิล (Tencel) ที่มีคุณสมบัติของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับใช้กับผ้าทำเบาะสำหรับโซฟา สโลคัลเลอร์ (Slowcolor) ผลิตสินค้าเคหะสิ่งทอ กลุ่มแรกโดยใช้กระบวนการทอมือและการย้อมโดยใช้สีที่มาจากวัสดุธรรมชาติ ขณะเดียวกัน […]
Read More
ปัจจุบันแนวโน้มการนำ Eco textiles กำลังเป็นที่นิยม การนำเส้นใยกล้วยมาใช้ในการพัฒนาเป็นเส้นใยในงานสิ่งทอจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นใยกล้วย ได้ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง ในหลาย ๆ เวทีของการเสวนาเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาเส้นใยพืชจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในประเทศอินเดียมีกล้วยสายพันธุ์ arecanut (Areca catechu) เป็นสายพันธุ์ที่มีมากและน่าสนใจ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.6-11 µm ผนังเซลล์ มีความหนา 2.2 µm ได้ถูกนำมาการแยกสกัดเส้นใยด้วยวิธีหมักต้องใช้เวลานานกว่าจะได้กลุ่มเส้นใยกล้วย ไม่ว่าจะเป็นวิธีทางเชิงกล เคมี และชีวภาพ ก็มีเทคนิคที่ดีและทำกันมาช้านานแล้ว ทุกวิธีได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ในการแยกสกัดด้วยวิธีทางเชิงกล จำเป็นต้องลอกเปลือกเพื่อให้กลุ่มเส้นใยออกมาในปริมาณมากและมีสมบัติทางกายภาพดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการเลือกวิธีการแยกสกัดเส้นใยที่ดี ก็จะมีผลต่อความแข็งแรงต่อแรงดึงขาดของเส้นใยเป็นอย่างดี ในขณะที่การแยกสกัดเส้นใยด้วยเคมี เป็นกรรมวิธีที่สามารถแยกสกัดเส้นใยได้ดี อีกทั้งยังสามารถดึงเอา hemicellulose ออกไปจากเส้นใยได้อีกด้วย การแยกสกัดเส้นใยกล้วย อีกสายพันธุ์ที่น่าสนใจ Aerobic ด้วยวิธีการหมักน้ำค้าง แต่ส่วนใหญ่วิธีการแบบนี้ส่งผลให้เส้นใยมีความแข็งกระด้างและมีคุณภาพต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ๆ ด้วยสาเหตุมาจากเซลลูโลสในเส้นใยได้สูญเสียไป ส่วนการแยกสกัดเส้นใยด้วยน้ำเป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด แต่ก็มีความเหมาะสมในการผลิตที่มีปริมาณน้อยเท่านั้น […]
Read More
เมื่อเรากล่าวถึงการแยกเส้นใยนั้น ไม่ว่าจะเป็นเส้นใยพืชชนิดใด ควรเลือกวิธีการแยกเส้นใยให้เหมาะสมกับพืชชนิดนั้น ๆ เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อสมบัติของเส้นใยได้ โดยทั่วไปเส้นใยจากเปลือกส่วนใหญ่ จะได้จากเปลือกชั้นนอกของใบ หรือลำต้นจากพืช ซึ่งล้วนแล้วแต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานสิ่งทอได้ทั้งนั้น แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการเลือกวิธีการแยกที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่เหมาะสมกับการลงทุนที่สูญเสียไปเส้นใยพืชที่น่าสนใจ ก็มีอยู่มากมาย เช่น flax hemp jute kenaf ล้วนแล้วแต่มีการแยกเส้นใยที่หลากหลาย ต่อไปนี้ขอนำเสนอตัวอย่างการแยกเส้นใยพืชชนิดต่างๆ อาทิ การแยกเส้นใยพืชจากใบ Agave Americana L. ด้วยเทคนิคการแยกเส้นใย 2 วิธี คือ การแช่ในถังน้ำ ใช้เวลา 10-13 วัน และการแยกเส้นใยด้วยวิธีการแช่ฝังในดิน ใช้เวลา 90 วัน ดังภาพที่ 1 จากภาพเป็นการแยกเส้นใยทั้ง 2 วิธี ซึ่งในวิธีการแช่ฝังดินนั้น พบว่า เส้นในจากใบได้ที่ผ่านการฝังดินลึกลงไป 30-40 เซนติเมตร ระยะเวลา 3 เดือน […]
Read More
การพัฒนาอย่างยั่งยืน และประเด็นปัญหาจากสิ่งแวดล้อมได้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญที่ ผู้บริโภค ผู้ค้าปลีก ผู้ย้อม ตกแต่งผืนผ้า และผู้ผลิตสิ่งทอ และผลิตภัณฑ์สิ่งทอตลอดทั้งสายงานการผลิต หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังมากขึ้นเรื่อยๆกฎระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับสีรวมถึงสารเคมีที่ใช้ (เช่น GOTS, Oeko-tex, bluesign) ที่จัดว่าเป็นตัวชี้วัดความมีมาตรฐานของสิ่งทอ ถูกกำหนดให้เป็นสิ่งที่ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระบบต้องถือปฏิบัติ รวมถึงการประหยัดทรัพยากรน้ำ ลดปริมาณน้ำเสีย พลังงาน เวลาที่ใช้ หรือ การดูแลเรื่องนิเวศวิทยา ด้านเศรษฐกิจ ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งมีการใช้กระบวนการที่หลากหลาย ใช้สารเคมีที่เหมาะสม ทำให้เกิดผลที่ต้องการ เรียกว่า กระบวนการ 4E’s คือ 1. E-สภาพแวดล้อม (environment)2. E-ประสิทธิภาพ (efficiency)3. E-สภาพนิเวศน์ (ecology) และ4. E-เศรษฐกิจ (economy)แม้แต่ผู้บริโภคสิ่งทอในระดับของครัวเรือนก็จะได้รับผลกำไรจากกระบวนการ ก็จะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างประหยัด อาทิ ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรด้านพลังงาน อาโครม่า(ARCHROMA)คือ การประสานกำลังระหว่าง เทคโนโลยี […]
Read More