Thailand Vision Zero สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย) มุ่งมั่นพัฒนา “วัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน” Vision Zero Strategy เพื่อให้คนทำงานไทยปลอดภัย “VISION ZERO” อุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน มิได้เกิดขึ้นจากโชคชะตา และไม่ได้เกิดขึ้นเพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้….หากแต่สิ่งเหล่านี้มีสาเหตุของการเกิดขึ้นเสมอการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน จะทำให้สาเหตุทั้งหลายถูกขจัด และอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ อันตรายและโรคจากการทำงานได้รับการป้องกัน “VISION ZERO” เป็นการปรับเปลี่ยนแนวทางในการป้องกันการเกิดอันตรายจากงาน โดยการนำมิติทางด้าน ความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก มาบูรณาการเพื่อการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานในสถานประกอบการทุกระดับ รับเพียง 40 องค์กรเพื่อรับการอบรม สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ! ถ้าผู้ประกอบการ สนใจจะมีการอบรมอีกครั้งวันที่.6 ธค. 2019 เวลา 13.30 -16.00 น. ดาวน์โหลดสมัครได้แล้วที่นี่
Read More
หัวใจสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนคือ การที่เราไม่หยุดยั้งในการพัฒนาให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่เปลี่ยนไป พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคในยุคจากนี้ไป จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายและไม่เหมือนในทศวรรษที่ผ่านมาอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นจากเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จากวิวัฒนาการทางสังคมที่เปิดกว้าง ในขณะที่โลกก็แคบลงด้วนอินเตอร์เน็ต จากโลก Social Media ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีความจำเป็นที่เราทุกคนต้องเรียนรู้เพื่อตามให้ทันกระแสโลก เพราะถ้าเราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต เราก็จะไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของคนรุ่นต่อไปได้ และนั่นก็หมายความว่าเราจะหลุดไปจากวงจรของกระแสสังคมโลก กระแสการค้าโลก และต้องปิดกิจการลงในที่สุด การสร้างนวัตกรรม การพัฒนาสินค้า การพัฒนาทีมงานและองค์กร หรือการปรับแผนกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับกระแสความนิยมหลักที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการที่จะต้องคำนึงถึง ควบคู่ไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหาธุรกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อให้การพัฒนาในวันนี้เป็นไปอย่างยั่งยืนในอนาคต ที่นี้ลองมาดูกันสิว่าโลกในยุคข้างหน้าสัก 5 ปีจากนี้ไป (ปี 2020) จะเป็นอย่างไร และอะไรคือกระแสความนิยมหลักที่จะเกิดขึ้น Green Concept: กระแสของการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมจะมีมากขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจในโลกยุคหน้า และข้อสำคัญคือ การเดิมที่เป็น “การสมัครใจ” จะกลายเป็น “การที่ต้องมี” สำหรับผู้ประกอบการในยุคปี 2020 เนื่องจากกระแสความใส่ใจกับแนวคิดสีเขียวจะมีมากยิ่งขึ้น Innovative technology: เป็นยุคที่เทคโนโลยีจะข้ามามีบทบาทอย่างเต็มตัวในการดำรงชีวิตของคนเรา ทำให้เกิดนวัตกรรมอย่างมากมายในโลกยุคปี 2020 […]
Read More
บทบาทของ ICT ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่อนาคตที่ยังยืน: Usage of ICT in manufacturing (Smart Factory / Virtual Factory / Digital Factory) จากแท็บเล็ตและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สู่ระบบคลาวด์คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน ข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสาร (Information and Communication Technology, ICT) ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจทั่วโลกและชีวิตของเรา นัยสำคัญที่สุดของ ICT คือเครื่องมือในการปูทางสำหรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน Smart Factory: an out-of-the-box, factory automation solution Smart Factory: an out-of-the-box, factory automation solutionในยุคของการผลิตแบบดิจิตอล เส้นแบ่งระหว่างโลกทางกายภาพและดิจิตอลจะถูกทำลายเพื่อสร้างอนาคตใหม่สำหรับอุตสาหกรรม Smart factory – เป็นจุดสุดยอดของการมีประสิทธิภาพที่จะไม่มีข้อบกพร่องและการหยุดทำงาน […]
Read More
วัตถุประสงค์หลักๆ ของการริเริ่มแนวความคิดนี้คือ การต้องการช่วยให้ผู้ผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการ SMEs ทำการปรับตัวให้เข้ากับความกดดันในการแข่งขันระดับโลก โดยการเพิ่มรากฐานทางเทคโนโลยีที่ผ่านการพัฒนาและการบูรณาการเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อสร้างและรักษาศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนแน่นอนเมื่อสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปของการผลิตและการจัดจำหน่าย พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของผู้บริโภคและการเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์แบบ “Smart Product” สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดแรงผลักดันให้ผู้ผลิตค้นหาวิธีการใหม่ของการสร้างสรรค์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของตนเอง และแต่ละการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการของลูกค้า ธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ เศรษฐศาสตร์ของการผลิตและเศรษฐกิจของการก่อห่วงโซ่มูลค่าเพื่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ซับซ้อนมากขึ้น ทำให้การสร้างมูลค่าเพิ่มท้าทายมากขึ้น ความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงในตลาดที่กำหนดและมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจประเภทที่ต้องมีแนวโน้มมากที่สุดที่จะไล่ตามโอกาสในการเติบโตและปรับตัวเองให้สอดคล้องและเข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ดังนั้นธุรกิจควรมององค์กรโดยรวมในรูปแบบใหม่หากต้องการที่จะทำให้ได้ผลสำเร็จมากที่สุดของโอกาสที่มีอยู่แน่นอนเมื่อสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปของการผลิตและการจัดจำหน่าย พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของผู้บริโภคและการเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์แบบ “Smart Product” สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดแรงผลักดันให้ผู้ผลิตค้นหาวิธีการใหม่ของการสร้างสรรค์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของตนเอง และแต่ละการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการของลูกค้า ธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ เศรษฐศาสตร์ของการผลิตและเศรษฐกิจของการก่อห่วงโซ่มูลค่าเพื่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ซับซ้อนมากขึ้น ทำให้การสร้างมูลค่าเพิ่มท้าทายมากขึ้น ความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงในตลาดที่กำหนดและมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจประเภทที่ต้องมีแนวโน้มมากที่สุดที่จะไล่ตามโอกาสในการเติบโตและปรับตัวเองให้สอดคล้องและเข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ดังนั้นธุรกิจควรมององค์กรโดยรวมในรูปแบบใหม่หากต้องการที่จะทำให้ได้ผลสำเร็จมากที่สุดของโอกาสที่มีอยู่ ลำดับความสำคัญที่ต้องดำเนินการของการเป็น MOF หรือ FOF • การผลิตอย่างยั่งยืน/การผลิตสีเขียว: Green Energy / Green Process / Green Products • การใช้ไอซีทีในการผลิต: Smart Factories […]
Read More
ปัจจุบัน ประเทศหลักๆ อย่างสหรัฐอเมริกาหรือกลุ่มประเทศอย่างสหภาพยุโรป หรือแม้แต่ประเทศไทยเราเองได้มีการกล่าวขานถึง “การผลิตแห่งอนาคต” (MOF: The Manufacturing of the Future) หรือ “โรงงานแห่งอนาคต” (FOF: The Factories of the Future) กันมากขึ้นเป็นลำดับ แล้ว “การผลิตแห่งอนาคต” หรือ “โรงงานแห่งอนาคต” นี้คืออะไร มีที่มา ที่เป็น ที่ไปอย่างไร แล้วมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมการผลิตมากน้อยแค่ไหนความแตกต่างระหว่าง The Future of the Manufacturing – the Factories กับ The Manufacturing – The Factories of the Future คือ The Future of […]
Read More
Phillip Sterns นั้นต่างจากศิลปินหรือนักออกแบบสิ่งทอที่เคยถูกพูดถึงท่านอื่นๆ ตรงที่เขาไม่ใช่นักออกแบบสิ่งทอ แต่เป็น electronic artist โดยคุณ Phillip นั้นจบการศึกษาด้าน Sound Engineering และต่อด้วยปริญญาโทด้าน Music Composition & Integrated Media, California Institution of the Arts ความน่าสนใจคืองานที่เขาผลิตนั้นจะมีที่มาที่ไปจากอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ แต่จะถูกนำมาผลิตผ่านสื่อต่่างๆ กันไป เช่น ออกมาเป็นผลงานเพลง หรือ performance แต่หนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือ การออกแบบสิ่งทอ โดยใช้ภาพ ‘Glitch Art’ มาถักทอเป็นลวดลาย Glitch Art นี้คือลักษณะงานศิลปะที่นำภาพ error ต่างๆที่เราเห็นเวลาใช้อุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ เช่น เวลาโปรแกรมกระตุก หรือรูปโหลดไม่ขึ้น หรือวีดีโอที่ไฟล์เสียแล้วภาพออกมาเบี้ยวบูด ซึ่งตามปกติแล้วเราก็ไม่ได้คิดว่าสิ่งเหล่านี้คือภาพที่สวยงามเท่าใดนัก แต่เมื่อคุณ Phillip ได้นำลวดลายของ’ความผิดหลาด’และ’ความบังเอิญ’ […]
Read More
บทความฉบับนี้ผู้เขียนขอเปลี่ยนบรรยากาศจากการแนะนำนักออกแบบสิ่งทอรุ่นใหม่ เป็นการพูดถึงงานของนักออกแบบสิ่งทอรุ่นคลาสสิคกันบ้าง คุณวิลเลี่ยม มอร์ริส (William Morris) เป็นศิลปิน นักออกแบบ นักเขียน ผู้ทรงอิทธิพลอย่างสูงในยุควิคตอเรี่ยน ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคเฟื่องฟูของ Industrial Revolution ที่ผู้คนก็เริ่มจะใช้เครื่องจักรในการผลิดสินค้าทุกอย่าง ระบบอุตสาหกรรมเริ่มทำหน้าที่เป็นคนออกแบบสินค้าหน้าตาเหมือนๆ กัน แต่ราคาถูกมาให้คนได้ใช้ มอร์ริสเป็นหนึ่งในศิลปินที่ริเริ่มขึ้นมาลุกขึ้นสู้กับระบบนี้ในฐานะศิลปินที่เห็นว่างานศิลปะวิจิตรนั้นก็สามารถนำมารวมเข้ากับข้าวของชีวิตประจำวันได้ และงาน craft แบบ traditional ของอังกฤษไม่ควรถูกกลืนหายไปเพราะระบบอุตสาหกรรม จึงได้ริเริ่ม British Arts and Crafts movement ขึ้น มอร์ริส เป็นศิลปินที่ทำลายเส้นกั้นระหว่างวิจิตรศิลป์และมัณฑนศิลป์ได้อย่างลงตัว โดยสร้างผลงานของกระจกสี งานออกแบบสิ่งทอ ม่านลายดอกแขวนประดับฝาผนัง เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงผลงานแพทเทิร์นลวดลายพรรณพฤกษาที่เป็นที่เลื่องชื่อ และเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในยุคนั้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะงานสิ่งทอที่มอร์ริสยืนหยัดที่จะทำหารทดลองถึงขั้นตอนการผลิตต่างๆด้วยตัวเอง ทั้งการทอ การย้อม และใช้สีจากธรรมชาติเท่านั้น หากดูงานของมอร์ริส ก็จะพบว่าลวดหลายเหล่านี้ แม้่จะผ่านกาลเวลามาร่วม 150 ปี […]
Read More
นวัตกรรม (Innovation) มักจะโดนมองว่า เป็นสิ่งที่ออกมาจากห้องทดลอง ออกมาจากหน่วยงานภายนอก เข้ามาในบริษัทระยะสั้นๆ เสร็จโครงการแล้วก็ผ่านไป ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในบริษัท การทำงานก็เป็นเพียงพนักงานบางกลุ่ม เช่น กลุ่มวิจัยพัฒนา กลุ่มทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ กลุ่มเฉพาะกิจของบริษัท หากบริษัทต้องการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ในสินค้าและบริการ ต้องผลักดันให้ พนักงานทุกคนใส่ใจ ออกความคิดเห็นใหม่ๆ กล้าเสนอออกความคิดเห็นใหม่ๆ ให้กับบริษัทเพื่อสร้างรากฐานของการพัฒนาไปสู่ความสามารถในการแข่งขัน แล้วก้าวไปจากการสร้างความสามารถในการแข่งขันเป็นความสามารถในการสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริษัทอย่างต่อเนื่องปัจจุบันวัตกรรมคือการค้นพบวิธีการใหม่ของการสร้างมูลค่า เพื่อการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจและยังเป็นการสร้างคุณค่าในสายตาลูกค้า ซึ่งคุณค่าเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะคงอยู่ได้ยาวนานกว่า ตัวอย่างนวัตกรรมทางธุรกิจสิ่งทอด้านต่างๆ ได้แก่ปัจจุบันวัตกรรมคือการค้นพบวิธีการใหม่ของการสร้างมูลค่า เพื่อการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจและยังเป็นการสร้างคุณค่าในสายตาลูกค้า ซึ่งคุณค่าเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะคงอยู่ได้ยาวนานกว่า ตัวอย่างนวัตกรรมทางธุรกิจสิ่งทอด้านต่างๆ ได้แก่ ไนกี้ (NiKe) สโลแกน “Just do it” – นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ากีฬาให้เป็นสินค้าแฟชั่นไนกี้เป็นบริษัทเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์กีฬาที่มีการพัฒนานวัตกรรมมาโดยตลอด โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้าน กลศาสตร์ทางชีวภาพ สรีระทางการออกกำลังกาย วิศวกรเชิงอุตสาหกรรม มาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ประสบประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงก็คือ “การทำรองเท้ากีฬาให้เป็นรองเท้าแฟชั่น”ทำให้ได้ตลาดเป้าหมายก็ใหญ่กว่าเดิมมาก […]
Read More
Studio Samira Boon เป็นสตูดิโอออกแบบสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ที่อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ คุณSamira จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ Delft University of Technology และได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นด้วยทุนวิจัยของ Monbusho Research Student Scholarship และได้ออกแบบผลงานที่มีชื่อเสียงทั้งในแถบยุโรปและประเทศญี่ปุ่น ด้วยลักษณะงานที่มีความสวยงามและเรียบง่าย Samina ได้ใช้เทคนิคการพับ (Japanese folding technique) เข้ามามีส่วนสำคัญในการออกแบบของเธอ ผ่านการพัฒนาและวิจัยโดยทำให้สิ่งทอที่ผลิตขึ้นนั้นมีลักษณะเป็นโครงสร้างสามมิติที่แข็งแรง ต่างจากแนวคิดทั่วไปว่าสิ่งทอนั้นเป็นผลงานบนผืนผ้าที่แบนราบและทิ้งตัว งานเหล่านี้สามารถนำไปดัดแปลงเป็นเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านได้หลากหลายชนิด และเธอก็ได้ออกแบบ collection ผลิตภัณฑ์ให้กับแบรนด์ต่างๆมากมาย รวมถึงการจัดแสดงexhibitionในมิวเซียมที่ New York, Amsterdam, Soul และ Tokyoตัวอย่างงานที่นี่สนใจของ Studio Samira Boon นั้นมีอยู่หลายชิ้น เช่น งานใน collection ‘Super Folds’ ที่เธอทำวิจัยให้กับ Dutch textile museum […]
Read More
เรื่อง…ปิลันธน์ ธรรมมงคล หสน.ธนไพศาล มีหลายคนมักถามผมว่า ทำไมถึงให้ความสำคัญกับตลาดเชิงสร้างสรรค์นัก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Eco-Products คำตอบมีหลายปัจจัยซึ่งผมก็ตอบไปกว้างๆ ว่า Eco- Products สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ได้สูง คู่แข่งในตลาดมีจำนวนไม่มาก และที่สำคัญคือความต้องการของผู้บริโภคมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในทางคู่ขนานเราต้องค้นคว้าวิจัย หาข้อมูลความรู้ เพื่อพัฒนาสินค้าให้ตลาดนี้ จากปัจจัยดังกล่าว จะเห็นได้ว่า Eco-Products สามารถสนองความต้องการของตลาดเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม เพราะมีความยืดหยุ่นมีการสร้างนวัตกรรมแปลกๆ ใหม่ๆ อย่างทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_tta_accordion color=”white” active_section=”” collapsible_all=”true”][vc_tta_section title=”อ่านต่อ” tab_id=”1500805741275-548da8b7-5046″][vc_column_text]จากการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกบวกกับกระแสความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่งผลให้การทำตลาดแบบเดิมที่ผมทำใช้ไม่ได้ผล ผมจึงหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นทางเลือกที่แตกต่างตามแบบฉบับของตัวเอง เพื่อเข้าตีตลาดใหม่ หากจะพูดไปแล้วการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แปลกๆ เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้อยู่แล้ว เพียงแต่ต้องใช้ความคิด และความกล้าที่จะเรียนรู้ปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก จะเห็นได้ว่า สินค้าและบริการหลายๆ อย่างได้หายไปจากการแข่งขันในปัจจุบัน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากผู้ผลิตไม่สามารถผลิตภัณฑ์สินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การทำธุรกิจของผมจึงต้องปรับเปลี่ยนความคิดให้รองรับแนวทางการตลาดในอนาคตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผมเป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสได้ลงไปทำตลาดในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 10 ปี […]
Read More