Close

14/08/2017

แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรมสิ่งทอ

นวัตกรรม (Innovation) มักจะโดนมองว่า เป็นสิ่งที่ออกมาจากห้องทดลอง ออกมาจากหน่วยงานภายนอก เข้ามาในบริษัทระยะสั้นๆ เสร็จโครงการแล้วก็ผ่านไป ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในบริษัท  การทำงานก็เป็นเพียงพนักงานบางกลุ่ม เช่น กลุ่มวิจัยพัฒนา กลุ่มทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ กลุ่มเฉพาะกิจของบริษัท

หากบริษัทต้องการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ในสินค้าและบริการ  ต้องผลักดันให้ พนักงานทุกคนใส่ใจ  ออกความคิดเห็นใหม่ๆ  กล้าเสนอออกความคิดเห็นใหม่ๆ ให้กับบริษัทเพื่อสร้างรากฐานของการพัฒนาไปสู่ความสามารถในการแข่งขัน  แล้วก้าวไปจากการสร้างความสามารถในการแข่งขันเป็นความสามารถในการสร้างสรรค์  เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริษัทอย่างต่อเนื่องปัจจุบันวัตกรรมคือการค้นพบวิธีการใหม่ของการสร้างมูลค่า  เพื่อการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจและยังเป็นการสร้างคุณค่าในสายตาลูกค้า ซึ่งคุณค่าเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะคงอยู่ได้ยาวนานกว่า  ตัวอย่างนวัตกรรมทางธุรกิจสิ่งทอด้านต่างๆ ได้แก่ปัจจุบันวัตกรรมคือการค้นพบวิธีการใหม่ของการสร้างมูลค่า  เพื่อการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจและยังเป็นการสร้างคุณค่าในสายตาลูกค้า ซึ่งคุณค่าเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะคงอยู่ได้ยาวนานกว่า   ตัวอย่างนวัตกรรมทางธุรกิจสิ่งทอด้านต่างๆ ได้แก่

 

ไนกี้  (NiKe) สโลแกน  “Just do it” – นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ากีฬาให้เป็นสินค้าแฟชั่นไนกี้เป็นบริษัทเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์กีฬาที่มีการพัฒนานวัตกรรมมาโดยตลอด  โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้าน กลศาสตร์ทางชีวภาพ สรีระทางการออกกำลังกาย วิศวกรเชิงอุตสาหกรรม มาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์  ผลิตภัณฑ์ที่ประสบประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงก็คือ “การทำรองเท้ากีฬาให้เป็นรองเท้าแฟชั่น”ทำให้ได้ตลาดเป้าหมายก็ใหญ่กว่าเดิมมาก  และเมื่อต้นปี 2558 ไนกี้ได้เปิดตัวสื้อผ้าชุดกีฬาทีมคริกเก็ตอินเดีย   และชุดของทีมออสเตรเลียและอังกฤษตามในการแข่งขันฟุตบอลโลก  โดยเสื้อผ้าดังกล่าวพัฒนาโดยใช้เส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลที่ทำมาจากขวดพลาสติกเฉลี่ย 33 ขวดต่อ 1 ชุด  ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ยังคงมีความแข็งแรงของเสื้อผ้า และการรักษาความชื้นได้เป็นอย่างดี และแสดงให้เห็นความพยายามในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย 

 

ยูนิโคล่ (Uniqlo) สโลแกน  “Lifewear. Clothes for a better life” นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อชีวิตที่ดีกว่ายูนิโคล่เป็นเสื้อผ้าแฟชั่นคุณภาพสูง เน้นสินค้าคุณภาพ ที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของผู้บริโภค จุดแข็งของยูนิโคล่คือ การใช้วัตถุดิบในการผลิตที่มีคุณภาพสูง และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยใช้วัตถุดิบใหม่ๆและกระบวนการผลิตมาสร้างสรรค์ให้มีนวัตกรรมใหม่ๆในบริษัท  เช่น การผลิตผ้ายีนส์ที่มีมาตรฐานเฉพาะและกำหนดมาตรฐานการย้อมสีจากบริษัทคู่ค้า   ผลิตภัณฑ์  HEATTECH   ที่มีการพัฒนาเส้นใยร่วมกับผู้ผลิตเส้นใยสังเคราะห์ Toray Industries   ผลิตภัณฑ์ผ้าที่ให้ความอบอุ่นในสภาวะที่อากาศเย็นหรือหนาวมาก  สมบัติ easy care และกลิ่นหอมดอกไม้กลิ่นต่างๆเป็นต้น

 

เดอะ อันเดรส (The Undress) – สโลแกน “ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเคลื่อนที่ (The World’s First Fashionable and Functional Mobile Changing Room)” นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเพื่อสร้างความสะดวกให้กับคุณผู้หญิงเดอะ อันเดรส เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมโดยใช้วิธีการออกแบบและการตัดเย็บ โดยเล็งเห็นความลำบากของผู้หญิง เวลามีกิจกรรมกลางแจ้ง แล้วต้องเปลี่ยนเสื้อผ้า   เป็นการแก้ปัญหาจากวิธีการเดิมๆที่เวลาเปลี่ยนเสื้อผ้ากลางแจ้ง แล้วโป๊ ผ้าหลุด เกิดภาพไม่น่าดู   จนเกิดชุด เดอะ อันเดรส ในแนวคิดห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเคลื่อนที่   นวัตกรรมที่สร้างจากแนวคิดเพื่อแก้ปัญหาเดิมๆเล็กๆที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องเสียเงิน เสียเวลาไปทำวิจัยตลาดหรือนวัตกรรมสูงได้ เพียงแต่คิดสร้างสรรค์ให้สินค้าและตอบสนองและแก้ปัญหาผู้บริโภคได้  ก็สามารถเข้ามาอยู่ในใจของผู้บริโภคได้  

 

จากตัวอย่างด้านบน หากจะสร้างการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมใหม่ๆในบริษัท จำเป็นต้องเสริมสร้างสมรรถภาพ (Capability) ของบริษัท ในทุกๆหน่วยงาน  ซึ่งสมรรถภาพหลักที่ต้องมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องได้แก่ 

1. กลยุทธ์และลูกค้า (Strategy and Customers) ผู้บริหารต้องมุ่งมั่นและสนับสนุนกลยุทธ์ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือนวัตกรรมในบริษัท ให้นโยบายในการกำหนดกลยุทธ์ปั้นนวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า ว่าเมื่อไร ที่ไหน อย่างไร ที่ต้องมีการทำนวัตกรรมในบริษัท  และการดำเนินนโยบายด้านนวัตกรรมควรต้องเป็นที่รับรู้กันทุกคนในทุกหน่วยงานเพื่อความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง

2. กระบวนการทำงาน (Process and infrastructure)  มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆในการรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ หรือมีการสนับสนุนให้มีการคิดนอกกรอบมาก แล้วจึงกลั่นรองออกมาเป็นความคิดที่ดีที่สุด แล้วนำมาพัฒนาต่อเนื่อง   

3. พนักงาน (People)  หลายๆ ครั้งที่นวัตกรรมเกิดจากพนักงานเล็กๆในที่ทำงานพบปัญหาจากกระบวนการผลิตหรือบริการ  แล้วมีการพูดคุยปรึกษาหารือกับฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจนเป็นผลิตภัณฑ์ดาวเด่นมาแล้ว  ดังนั้นควรส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้วยการให้ความรู้ อบรมสัมนาทักษะด้านนวัตกรรมให้กระจายอยู่ในทุกคน เพื่อให้พนักงานฉุกคิดและอยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าและบริการของบริษัท

4. เทคโนโลยี (Technology) การหาข้อมูลเทคโนโลยี สนับสนุนจากภายในและภายนอก  จากคู่ค้า  supplier  หน่วยงานรัฐและเอกชน เป็นต้น

5. การวัดผลการดำเนินงาน (Measure and performance)  การวัดผลลัพธ์จากคุณค่าและมูลค่าจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

 

ปัจจัยทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่เพื่อสร้างความแตกต่างในตลาด บริษัทจึงควรประเมิน วางแผนและจัดลำดับ ความสำคัญของงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเน้นจากสมรรถนะที่เป็นจุดแข็งของบริษัทของบริษัท แล้วพยายามสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้กับจุดแข็งนั้น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาวต่อไป

 

เรียบเรียงโดย ศศิมา สุขสว่าง วิทยากรและที่ปรึกษาด้าน Project Management และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ http://www.sasimasuk.com/sasimathti@gmail.com

อ้างอิง• http://www.nike.com/• http://www.nikeresponsibility.com/• http://www.sportskeeda.com/cricket/indian-cricket-team-new-jersey-33-recycled-plastic-bottles• http://www.uniqlo.com/• http://www.theundress.com/[/vc_column_text][/vc_tta_section][/vc_tta_accordion][/vc_column][/vc_row]

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *